วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ขอเชิญร่วมวิพากษ์ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2



ขอเชิญร่วมวิพากษ์ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564)

วิทยาลัย ประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ทำการประเมินการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 ในระยะแรกเสร็จสิ้นแล้ว (พ.ศ.2545-2549) แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับแผนผู้สูงอายุฯ ในระยะต่อไป ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

การที่แผนผู้สูงอายุฯ ดังกล่าวเป็นแผนระยะยาวถึง 20 ปี และเกี่ยวข้องกับประชาชนทุกคน ดังนั้น ทางวิทยาลัยฯ จึงเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมวิพากษ์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนผู้สูงอายุ เพื่อปรับแผนฯ ให้สอดคล้องกับความต้องการและนำไปสู่การปฎิบัติได้อย่างแท้จริง

ขอ เชิญร่วมวิพากษ์ และแสดงความคิดเห็นในส่วนของ "ร่างแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564)" และในส่วนของ "ปรัชญา วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์" โดยท่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ในหลายช่องทางดังนี้.

1. ทาง Website ของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ ที่ www.cps.chula.ac.th
2. ทาง Website ทั่วไป ที่ http://thenationalplan2forolderpersons.blogspot.com/
3. ทางเบอร์โทรศัพท์ ที่ 02 218 7350
4. ทาง email : Vipan.p@chula.ac.th

โดยท่านสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 และท่านสามารถ Download เอกสารได้ที่
"ร่างแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่2" : http://www.4shared.com/file/144308215/9a4ed55b/_2_online.html
"ปรัชญา วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์" : http://www.4shared.com/file/144308211/9d231142/__online.html

ความคิดเห็น "ร่างแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2"

ความคิดเห็น "ปรัชญา วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์"

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ขอเชิญร่วมวิพากษ์ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2


ขอเชิญร่วมวิพากษ์ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564)

วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ทำการประเมินการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 ในระยะแรกเสร็จสิ้นแล้ว (พ.ศ.2545-2549) แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับแผนผู้สูงอายุฯ ในระยะต่อไป ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

การที่แผนผู้สูงอายุฯ ดังกล่าวเป็นแผนระยะยาวถึง 20 ปี และเกี่ยวข้องกับประชาชนทุกคน ดังนั้น ทางวิทยาลัยฯ จึงเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมวิพากษ์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนผู้สูงอายุ เพื่อปรับแผนฯ ให้สอดคล้องกับความต้องการและนำไปสู่การปฎิบัติได้อย่างแท้จริง

ขอเชิญร่วมวิพากษ์ และแสดงความคิดเห็นในส่วนของ "ร่างแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564)" และในส่วนของ "ปรัชญา วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์" โดยท่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ในหลายช่องทางดังนี้.

1. ทาง Website ของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ ที่ www.cps.chula.ac.th
2. ทาง Website ทั่วไป ที่ http://thenationalplan2forolderpersons.blogspot.com/
3. ทางเบอร์โทรศัพท์ ที่ 02 218 7350
4. ทาง email : Vipan.p@chula.ac.th

โดยท่านสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 และท่านสามารถ Download เอกสารได้ที่
"ร่างแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่2" : http://www.4shared.com/file/144308215/9a4ed55b/_2_online.html
"ปรัชญา วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์" : http://www.4shared.com/file/144308211/9d231142/__online.html

ปรัชญา

ผู้สูงอายุไม่ใช่บุคคลด้อยโอกาสหรือเป็นภาระต่อสังคม แต่สามารถมีส่วนร่วมเป็นพลังพัฒนาสังคม จึงควรได้รับการส่งเสริมและเกื้อกูลจากครอบครัว ชุมชน และรัฐให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้นานที่สุด
ขณะเดียวกันผู้สูงอายุที่ประสบความทุกข์ยาก ต้องได้รับการเกื้อกูลจากครอบครัว ชุมชน สังคมและรัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
การสร้างหลักประกันในวัยสูงอายุเป็นกระบวนการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคมโดยการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้แก่

1. ผู้สูงอายุช่วยตนเอง
2. ครอบครัวดูแล
3. ชุมชนช่วยเกื้อกูล
4. สังคม รัฐสนับสนุน

โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ควรมีการบูรณาการให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์

“ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม”

1. ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี คือ
- มีสุขภาพที่ดีทั้งกายและจิต
- ครอบครัวมีสุข สังคมเอื้ออาทร อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ปลอดภัย
- มีหลักประกันที่มั่นคง ได้รับสวัสดิการและการบริการที่เหมาะสม
- อยู่อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจและมีส่วนร่วมในครอบครัว ชุมชน และสังคม
- มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารอย่างต่อเนื่อง

2. ครอบครัวและชุมชนเป็นสถาบันหลักที่มีความเข้มแข็งสามารถเกื้อหนุนแก่ผู้สูงอายุได้อย่างมีคุณภาพ

3. ระบบสวัสดิการและบริการจะต้องสามารถรองรับผู้สูงอายุให้สามารถดำรงอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐาน

4. ทุกภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วมในระบบสวัสดิการ และบริการให้แก่ผู้สูงอายุ โดยมีการกำกับดูแลเพื่อการคุ้มครองผู้สูงอายุในฐานะผู้บริโภค

5. ต้องมีการดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุที่ทุกข์ยากและต้องการการเกื้อกูลให้ดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ และมีหลักประกันที่มั่นคง
2. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้สังคมไทยตระหนักถึงผู้สูงอายุในฐานะบุคคลที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม และส่งเสริมให้คงคุณค่าไว้ให้นานที่สุด
3. เพื่อให้ประชากรทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมการ และมีการเตรียมการเข้าสู่ความพร้อมเพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ
4. เพื่อให้ประชาชน ครอบครัว ชุมชน องค์กรภาครัฐ และเอกชน ตระหนักและมีส่วนร่วมในภารกิจด้านผู้สูงอายุ
5. เพื่อให้มีกรอบและแนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอันจะนำไปสู่การบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุ